วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555


2.1  แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism)

ผศ.ดร.นรีรัตน์  สร้อยศรี

        2.1.1   การออกแบบการเรียนการสอน

การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Desig) มีชื่อเรียกหลากหลาย  เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)  การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional Design and Developmen)  เป็นต้น  ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด  แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือ มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (System Approach) (ฉลอง, 2551)

แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)

วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา  ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ  รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design Systems)    หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึงปัจจุบัน  นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ

รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบและการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์

ที่เชื่อได้ว่า ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด

ทิศนา (2548) ได้กล่าวว่า รูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอน(Teaching/Instructional Model)  คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดระบบอย่างสัมพันธ์กับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ  และได้รับการพิสูจน์  ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ   สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว   มักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด   ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือเป็นแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้

2.1.2   ทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism)

2.1.2.1  ความหมายของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม  ได้มีผู้ให้ความหมายและชื่อของทฤษฎี

Constructivism ไว้แตกต่างกัน ดังนี้

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่าเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน(สุภนิดา, 2553)

ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism Approach) มีหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการสอน การเรียนรู้คือนักเรียนจะต้องสร้างความรู้ (Knowledge) ขึ้นในใจเอง ครูเป็นแค่เพียงผู้ช่วยหรือเข้าใจในกระบวนการนี้โดยหาวิธีการจัดการข้อมูลข่าวสารให้มีความหมายแก่นักเรียน หรือให้โอกาสนักเรียนได้มีโอกาสค้นพบด้วยตนเอง นอกจากนี้จะต้องสอนศิลปะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  นักเรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเองไม่ว่าครูจะใช้วิธีสอนอย่างไร (สุรางค์, 2541)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)  ทฤษฎีการสร้างความรู้ว่าด้วยผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นได้เอง การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของบุคคลในการสร้างความรู้และความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้รับ ผ่านกระบวนการซึมซับ (Assimilation)  คือการนำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ที่ได้รับไปเชื่อมโยงอย่างกลมกลืนกับโครงสร้างความรู้ที่ตนมีอยู่  และการปรับกระบวนการการรู้คิด  (Accommodation)  คือการคิดค้นหาวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างความเข้าใจจนเกิดเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง  ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการภายในที่แต่ละบุคคลต้องเป็นผู้สร้างด้วยตนเองและสามารถทำได้ดียิ่งหากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากที่อื่น (ราชบัณฑิตสถาน, 2551)

นิรมิตนิยม (Constructivism) (นิรมิต แปลว่า สร้าง) สรุปไว้ว่านิรมิตนิยมเชื่อว่า ความรู้ ก็คือ

สิ่งที่ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจ    ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเขา  ขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของเขา เราไม่สามารถจะถ่ายทอดความรู้จากการสอนโดยตรง  แต่เด็กจะต้องค้นพบความรู้ด้วยตัวของเขา  ซึ่งก็หมายความว่าเด็กต้องสร้าง (Construct) ความรู้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง   การสร้างความรู้นั้นก็มีหลักการว่า ต้องเรียนความรู้จากบริบทที่แวดล้อมอยู่ ต้องเรียนจากการทำจริงปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่เป็นจริง ครูยังมีบทบาทสำคัญ ไม่ใช่ฐานะผู้สอนแต่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เด็กต้องมีอิสระที่จะเลือก ที่จะเรียน  เด็กต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อนนักเรียนด้วยกันมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ฯลฯ

 

ทฤษฎี​​​​​ การออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​ (Instructional System Design : ISD) ซึ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​เนื้อหาที่รายวิชา​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอ​​​​​​​​​ไว้​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​สัปดาห์ที่​​​​​ 3 โดย​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอรูปแบบของระบบการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ​​​​​ แต่ละรูปแบบสรุป​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​อยู่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​กรอบของ​​​​​ ADDIE Model (Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation) 
กระบวนการจัดการเรียนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ตัว​​​​​ ​​​​​เมื่อ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​รับมอบหมาย​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​ภาควิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​รับผิดชอบสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​จะวางแผนการสอน​​​​​
 สิ่งแรกที่​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​ ​(​​​​​เป็น​​​​​​​​​ข้อบังคับของฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย) ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ส่ง​​​​​ แนวการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​ (Course Syllabus) ตลอด​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ภาคเรียน​​​​​ ซึ่ง​​​​​​​​​อาจมีรายละ​​​​​​​​​เอียดที่​​​​​​​​​แตกต่าง​​​​​​​​​กัน​​​​​​​​​บ้าง​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละสถาบัน​​​​​ แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​น่า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​คร่าว​​​​​ ​​​​​ๆ ส่วน​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ได้​​​​​​​​​แก่

ข้อมูลเกี่ยว​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​ คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา จุดประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไป แผนการสอนแต่ละบท/สัปดาห์​​​​​ ​​​​​ที่ประกอบ​​​​​​​​​ด้วยจุดประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​ ​​​​​เนื้อหา​​​​​ (หัวเรื่องหลัก​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​หัวเรื่องรอง) กิจกรรม​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน​​​​​ ชื่อตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​หนังสื่อที่​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​ ​​​​​เกณฑ์การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล

กระบวนการเขียนแผนการสอนนี้​​​​​ ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน ​​​​​เพียงแต่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​แบ่งแยกขั้นตอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ชัดเจน​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​บางขั้นตอน​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​อาจ​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​สมบูรณ์ ผมลองวิ​​​​​​​​​เคราะห์สิ่งที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอนที่ผ่านมา​​​​​ เชื่อมโยง​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน พอสรุป​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ดังนี้

1) การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ (Analysis) ใน​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เด็นต่าง​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่

การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​จำ​​​​​​​​​เป็น​​​​​ ​​​​​สำ​​​​​​​​​หรับวิชาที่จัด​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​หลักสูตร​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​วิชาที่​​​​​​​​​เลือก​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​นักศึกษา​​​​​​​​​เรียน​​​​​ ​​​​​ส่วน​​​​​​​​​นี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ถึง​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​จำ​​​​​​​​​เป็น​​​​​ ​​​​​ด้วย​​​​​​​​​เหตุ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ผล​​​​​ ​​​​​อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร​​​​​ ​​​​​คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ทันสมัยตาม​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​ก้าวหน้าทางวิชาการที่​​​​​​​​​เปลี่ยนไป

การวิ​​​​​​​​​เคราะห์งาน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​การเรียนการสอน ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​เนื้อหา​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​กิจกรรมต่าง​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ที่​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา โดย​​​​​​​​​การแสดงหัวข้อเนื้อหาหลัก​​​​​ ​​​​​หัวเรื่องรอง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​ยึดกรอบคำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​หลัก

การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน ​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​มักทำ​​​​​​​​​ด้วย​​​​​​​​​กระบวนการสั้น​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​เช่น​​​​​ ​​​​​สอบถาม​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​รู้พื้นฐาน​​​​​ ​​​​​บางครั้งอาจมีการประ​​​​​​​​​เมินผลก่อนเรียน​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​โยชน์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การออกแบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​เท่า​​​​​​​​​ไรนัก​​​​​ ​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ที่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​สำ​​​​​​​​​คัญมาก​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ที่​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ช่วย​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียนประสบ​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​สำ​​​​​​​​​เร็จทางการเรียน​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​เนื่อง​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียนจำ​​​​​​​​​นวนมาก​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ห้องเรียน​​​​​ ​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​อาจออกแบบการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เหมาะสม​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​รายบุคคล​​​​​​​​​ได้​​​​​ ​​​​​จึง​​​​​​​​​ออกแบบการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เหมาะ​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ห้อง

การวิ​​​​​​​​​เคราะห์วัตถุประสงค์ มีการวิ​​​​​​​​​เคราะห์วัตถุประสงค์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การเรียนการสอน​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​แบ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​วัตถุประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไปของรายวิชา​​​​​ และ​​​​​​​​​วัตถุประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละบท​​​​​

2) การออกแบบ (Design) คือ​​​​​ ​​​​​การออกแบบ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ของ วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบท​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แต่ละสัปดาห์​​​​​ เน้นการพัฒนา​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ครบ​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​ 3 ด้าน​​​​​ ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ด้านสติปัญญา​​​​​ (Cognitive) ด้านทักษะ​​​​​ (Psychomotor) และ​​​​​​​​​ด้านลักษณะนิสัย​​​​​ (Affective) ลำ​​​​​​​​​ดับเนื้อหา​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอน ระบุวิธีสอน​​​​​​​​​หรือ
กลยุทธ์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอน​​​​​
 ซึ่ง​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ก็​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธีการบรรยาย​​​​​ อภิปราย​​​​​ ​​​​​มอบหมายงาน​​​​​ ​(​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ศูนย์กลาง) เลือกสื่อการสอน​​​​​ และ​​​​​​​​​กำ​​​​​​​​​หนดวิธีการประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ ทั้ง​​​​​​​​​หมด​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ออกแบบ​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​กำ​​​​​​​​​หนด​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ตามแผน​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​หมด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​นั้น​​​​​ ​​​​​บางครั้งมีข้อจำ​​​​​​​​​กัด​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​เรื่องของเวลา​​​​​ ​(​​​​​ถ้า​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ชั้นเรียนปกติ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​มีนักศึกษากลุ่ม​​​​​​​​​ใหญ่)

3) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การนำ​​​​​​​​​สิ่งที่คิด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่
การพัฒนา​​​​​​​​​เนื้อหา กรณี​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​พัฒนาตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​เอกสารประกอบการสอนเอง​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธีการเลือกหนังสือ​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ตำ​​​​​​​​​ราที่มี​​​​​​​​​เนื้อหาสอดคล้อง​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​สิ่งที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้
การพัฒนาสื่อ​​​​​ ที่​​​​​​​​​สามารถ​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ขณะนี้คือ​​​​​ ​​​​​สไลด์ประกอบการสอน​​​​​ ​​​​​เว็บไซต์​​​​​​​​​แหล่ง​​​​​​​​​ค้น​​​​​​​​​คว้า​​​​​​​​​เพิ่มเติม
การประ​​​​​​​​​เมิน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ขณะพัฒนา เป็น​​​​​​​​​กระบวนการที่สำ​​​​​​​​​คัญ ผู้​​​​​​​​​สอนมัก​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ค่อย​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​ ​​​​​เพราะ​​​​​​​​​มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก​​​​​ ​​​​​อาจ​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เชี่ยวชาญ​​​​​​​​​ช่วย​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินตรวจสอบ​​​​​ ​​​​​หรือ​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​กระบวนการวิจัยสื่อทำ​​​​​​​​​การหาประสิทธิภาพ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประสิทธิผลของสื่อ

4) การนำ​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้ (Implementation) คือ​​​​​ ​​​​​ขั้นตอนการนำ​​​​​​​​​แผนการสอนที่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​วิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ ​​​​​ออกแบบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​พัฒนา​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​สอนจริง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​พยายามดำ​​​​​​​​​เนินการตามแผนการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้

5) การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ (Evaluation) กระบวนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลการสอน ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ขั้นตอนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลเพื่อ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การตัดสิน​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​ (เพื่อตัดเกรด) คือ​​​​​ ​​​​​การสอบ

 

การประเมินผล (Evaluation)

ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการการออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE

(Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model)

การวิเคราะห์(Analysis)

ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal), และรายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป

การออกแบบ (Design)

ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน

องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมาย, การดำเนินการวิเคราะห์การเรียน, การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบ, เลือกระบบการนำส่ง และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป

การพัฒนา (Development)

ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)

การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)

ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)

การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation):

ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล

การประเมินผลรวม (Summative evaluation):

โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน (เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)

 

ปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่งและแนวทางแก้ไขเบื้องต้น

1. ​การ​ใช้​อี​เลิร์นนิง​ใน​การสอนภาคปฏิบัติ​
อี​เลิร์นนิงคง​ไม่​สามารถ​ช่วย​การเรียนการสอนด้านทักษะปฏิบัติ​ได้​ คง​ต้อง​เรียน​จาก​การปฏิบัติจริง​ ​แต่อี​เลิร์นนิง​จะ​ช่วย​เตรียม​ความ​รู้​ ​ความ​เข้า​ใจ​ผู้​เรียน​ให้​พร้อม​ ​เมื่อ​เข้า​เรียนภาคปฏิบัติ​จะ​ทำ​ให้​เรียน​ได้​เร็ว​ขึ้น​ ​อีกอย่างที่มีการ​ใช้​อี​เลิร์นนิง
ช่วย​ได้​ดี​ ​คือ​ ​ใน​เรียนด้านทักษะที่ต้นทุนการฝึกปฏิบัติสูง​ ​หรือ​ ​อันตราย​ ​หรือ​จะ​ต้อง​ฝึก​กับ​สัตว์ทดลอง​ ​เหล่า​จะ​มี
บทเรียนอี​เลิร์นนิงแบบสถานการณ์จำ​ลอง​ (Simulation) ​ช่วย​เตรียม​ผู้​เรียน​ให้​พร้อมก่อนฝึกปฏิบัติจริง​ ​ลดค่า​ใช้​จ่าย​และ​ลดอันตราย​จาก​การปฏิบัติจริง​

2. ​มีปัญหา​ใน​ขั้นตอนการพัฒนา​ ​เพราะ​ไม่​มี​ความ​รู้​เกี่ยว​กับ​วิธีการสร้างเว็บไซต์​ ​ตรวจสอบ​ ​เช็คเวลา​
รักษา​ความ​ปลอดภัย​ ​ไม่​มี​ความ​รู้​เกี่ยว​กับ​การพัฒนาบทเรียน​
ตอนนี้ง่าย​แล้ว​ครับคุณนฤมล​เพราะ​โปรแกรมระบบจัดการเรียนรู้​ (LMS) ​เดี๋ยวนี้สำ​เร็จรูปมากๆ​ ​และ
โปรแกรมเหล่านี้ที่​ให้​ใช้​ฟรี​ (Opensource) ​เช่น​ Moodle ​หรือ​ ​โปรแกรม​ TCU-LMS ​ที่​เรา​ใช้​ใน
การเรียนการสอนวิชานี้​อยู่​ ​คุณนฤมลก็ขอไป​ใช้​ได้​ฟรี​ ​สำ​หรับ​ TCU-LMS ​มีอบรม​ให้​ด้วย​นะครับ​
มีทีม​ให้​คำ​ปรึกษา​ด้วย​ ใน​ส่วน​การผลิตหาก​ผู้​สอน​ (คุณนฤมล) ​มี​เวลา​เรียนรู้วิธีการสร้างสื่อ​ได้​
ก็​จะ​คล่องตัว​ ​แต่หาก​ไม่​มี​เวลาก็​สามารถ​ใช้​รูปแบบทีมงาน​ ​เช่น​ ​ทำ​งาน​เป็น​ทีม​กับ​ทีมผลิตสื่อ​
หาก​ไม่​มีทีมผลิตสื่อ​ ​แต่มีสตางค์ก็​สามารถ​ outsource ​ติดต่อ​ผู้​เชี่ยวชาญ​
อาจ​จะ​ไม่​ต้อง​ถึง​มืออาชีพ​ ​บริษัทต่างๆ​ ​แต่นักศึกษา​ ​หรือ​เพื่อนๆ​อาจารย์ที่มีฝีมือก็​ช่วย​ได้​ครับ

อีกอย่าง​ ​มีสื่อการเรียนรู้​เป็น​เรื่องๆ​ (ที่​เขา​เรียก​กัน​ว่า​ Learning Object) ​มี​ให้​นำ​ไป​ใช้​ฟรี​ใน​เว็บมากมาย​ ​เช่น​
http://www.merlot.org ​ลอง​เข้า​ไปดูนะครับ​ ​มี​เว็บสื่อการเรียน​เป็นเรื่องๆ​ให้​นำ​มา​ใช้​ ​แล้ว​ลองศึกษาวิธีการออกแบบระบบฯ​แนว​ใหม่​ ​ที่​เป็น​เนื้อหาของสัปดาห์นี้​ ​คุณนฤมล​จะ​เห็นว่าการสร้างสื่อการเรียนที่สวยๆ​ ​เริ่มมี​ความ​สำ​คัญลดลงนะ​
การออกแบบกิจกรรมการเรียน​ ​และ​กระบวนการเรียนต่างหาก​จะ​จะ​ส่งเสริม​ให้​ผู้​เรียนเกิดการเรียนรู้​... 
วิชา​ ​การออกแบบบทเรียนอี​เลิร์นนิง​ ​ทุกคน​จะ​ได้​ฝึกสร้างบทเรียนจริงตามหลักการที่ถูก​ต้อง​ ​และ​จะ​ให้​เปิดรับ​ผู้​เรียนจริงๆ​ด้วย​ครับ

4. ​ประ​เมิน​ได้​อย่างไรว่า​เป็น​ผู้​เรียนจริง
ข้อนี้​เป็น​คำ​ถามที่ดีครับ​ ​ปัจจุบันนี้​ยัง​ใช้​หลายวิธีการร่วม​ด้วย​ ​เช่น​ ​การจัด​ให้​มีการพบเพื่อปฐมนิ​เทศ​ ​การจัดสอบ
ใน​สถานที่มี​ผู้​คุมสอบ​ ​เพื่อ​จะ​ได้​สามารถ​ตรวจสอบว่า​เป็น​บุคคลชื่อ​นั้น​จริงๆ​เป็น​ผู้​สอบก็ถือว่ามี​ความ​รู้​ ​(​ใช้​ใน​หลักสูตร
ปริญญา) ​ส่วน​ใน​หลักสูตรที่​ไม่​ได้​มีการพบหน้า​กัน​ ​ก็​จะ​ปรับรูปแบบ​เป็น​ใช้​กิจกรรมการเรียน​เป็น​ส่วน​ที่​จะ​ให้​คะ​แนน
มากกว่าการสอบ​ ​ทำ​ให้​ผู้​เรียน​ต้อง​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การเรียนตลอด​ ​ขณะ​เดียว​กัน​ใน​กระบวนการเรียน​ ​ก็​จะ​ให้​ผู้​เรียนตอบ
คำ​ถาม​ ​หรือ​ ​ทำ​กิจกรรม​ ​โดย​ใช้​พื้นฐาน​ความ​รู้​ ​สถานที่ทำงาน​ ​บริบทของตัวเอง​ ​เพื่อ​ช่วย​ยืนยัน​ได้​อีกทางหนึ่ง​ (รวม​ทั้ง
เป็น​หลักการที่​จะ​ทำ​ให้​ผู้​เรียน​ได้​เรียนรู้​ ​โดย​ใช้​ประสบการณ์ตัวเอง​และ​ได้​คำ​แนะนำ​ไป​ใช้​ปฏิบัติ​ได้​ใน​สถานการณ์ตัวเอง

 

....1. การเขียนสคริบ (Scripting) เป็นการจัดทำรายละเอียดการนำเสนอตามแบบที่กำหนดไว้ ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบการสอนจะต้องเขียนรายละเอียดของเนื้อหาเป็นกรอบ(Frame) ตามแบบของการเขียน เพื่อกำหนดว่าจะใช้ข้อความ ภาพ เรื่อง สี ขนาด แบบตัวอักษร ฯลฯ และการกำหนดปฏิสัมพันธ์ (Interaction)

....2. การออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) หมายถึง เรื่องราวของบทเรียนประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกซึ่งเป็น Title ของบทเรียนจนถึงเฟรมสุดท้าย บทดำเนินเรื่องจึงประกอบด้วย ภาพข้อความ คำถาม-คำตอบ และรายละเอียดอื่นๆ จากแผนภูมิการเรียนรู้ (Learning Flow Chart) ในข้อ 6 จะเห็นว่ามีเนื้อหาย่อยๆ อยู่ 4 ตอน แต่ละตอนสามารถเขียนบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)

....2. แบบแตกกิ่ง (Branching Program) บทเรียนรูปแบบนี้ มีกรอบการเรียนรู้ที่เป็นทางเลือกให้ผู้เรียน ทำให้สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี การจะออกแบบบทเรียนให้มีโครงสร้าง แตกกิ่ง อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาผู้ออกแบบบทเรียนวิเคราะห์ และกำหนดซึ่งมีรูปแบบดังนี้

.......2.1 แบบซ้ำกรอบเดิม (Linear format with repetition) มีลักษณะที่คล้ายกับบทเรียนแบบเส้นตรง แต่มีคำถามแทรกระหว่างกรอบเนื้อหา ถ้าผู้เรียนตอบถูกต้อง จะได้ผ่านไปกรอบถัดไป ถ้าตอบไม่ถูกต้อง จะย้อนกลับมายังกรอบเนื้อหาเดิมอีกครั้ง และตอบคำถามเดิมอีกครั้ง โครงสร้างแบบนี้เหมาะกับบทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด เกมเพื่อการศึกษา และสถานการณ์จำลอง

.........2.2 แบบทดสอบข้ามกรอบ (Pretest and skip format) เป็นบทเรียนที่ทดสอบความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียนเนื้อหา ถ้าทดสอบผ่าน ก็จะข้ามกรอบที่ผู้เรียนรู้เนื้อหานั้น ๆ แล้วไปยังกรอบเนื้อหาอื่นๆ โครงสร้างแบบนี้เหมาะสมกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์แบบฝึกหัด เกมเพื่อการสอน และสถานการณ์จำลอง


........2.3 แบบข้ามและย้อนกลับ (Gates Frames) มีลักษณะโครงสร้างแบบ เส้นตรงมีกรอบคำถามอยู่ระหว่างกรอบเนื้อหาหลายกรอบ และถ้าตอบผิด อาจย้อนกลับไป กรอบเนื้อหาใดๆ ตามที่ผู้ออกแบบบทเรียนกำหนดไว้ โครงสร้างแบบนี้เหมาะกับ บทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด เกมเพื่อการสอน และสถานการณ์จำลอง


........2.4 แบบเส้นทางเดินหลายทาง (Secondary tracks) เป็นบทเรียนที่มีทางเดินหลายระดับ โดยเส้นทางที่ 1 เป็นกรอบเนื้อหาหลัก ไม่มีรายละเอียดมากนัก ถ้าผู้เรียนเลือกเรียนเฉพาะเส้นทางที่ 1 ผู้เรียนจะได้รายละเอียดของเนื้อหาในระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการรายละเอียดมากขึ้น ก่อนจะไปสู่กรอบเนื้อหาต่อๆ ไป จะต้องไปศึกษา ในทางเดินระดับที่ 2และ 3 โครงสร้างประเภทนี้เหมาะกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์ ซึ่งเนื้อหาของบทเรียน มีลักษณะของไฮเปอร์เท็กซ์ และไฮเปอร์มีเดีย (Hypertext and Hypermedia)

....3. การประเมินบทเรียน (Content Correctness) หลังจากการจัดทำ Story board เสร็จแล้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอย่างน้อย 3 – 5 คน ได้ประเมินเกี่ยวกับความเที่ยงตรงเค้าโครงสร้างของเนื้อหาก่อน ได้ข้อเสนอแนะแล้วนำมาปรับปรุงอีกครั้ง


.......2.5 แบบกรอบเสริมเชิงเดี่ยว (Single remedial branch) เป็นบทเรียนที่เริ่มด้วยกรอบเนื้อหา ตามด้วยกรอบคำถาม ถ้าผู้เรียนตอบถูกจะไปเรียนกรอบต่อไปแต่ถ้าตอบผิดผู้เรียนจะต้องไปเรียนกรอบซ่อมเสริมก่อนจะไปเรียนกรอบต่อไป ลักษณะบทเรียนประเภทนี้เหมาะกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์ และแบบฝึกหัด


.......2.6 แบบมีห่วงกรอบช่วยเสริม (Remedial loops) มีลักษณะคล้ายกับแบบกรอบเสริมเชิงเดี่ยว ต่างกันที่ กรอบช่วยเสริมมีหลายกรอบ ประกอบกันเป็นชุด หลาย ๆ กรอบ ซึ่งเป็นกรอบที่ปูพื้นฐานความรู้ ข้อมูลให้ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้รับการซ่อมเสริมแล้ว จะส่งกลับมายังกรอบเนื้อหาเดิม เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้จากการซ่อมเสริม มาศึกษากรอบเนื้อหาเดิมนั้น และตอบคำ ถามใหม่อีกครั้ง ก่อนจะไปเรียนกรอบเนื้อหาต่อไป โครงสร้างแบบนี้เหมาะสมกับบทเรียนประเภทติวเตอร์ และแบบฝึกหัด

........2.7 แบบแตกกิ่งคู่ (Branching frame sequence) บทเรียนลักษณะนี้ประกอบด้วยกรอบเนื้อหา กรอบคำถาม และกรอบซ่อมเสริม เมื่อผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาจะไปสู่กรอบคำถามซึ่งมีคำตอบให้เลือกตอบหลายตัวเลือกถ้าผู้เรียนตอบถูก จะไปเรียนกรอบต่อไป ถ้าตอบผิดในตัวเลือกที่ 1 จะไปสู่กรอบซ่อมเสริมสำหรับตัวเลือกที่ 1 ถ้าตอบผิดในตัวเลือกที่ 2 จะไปสู่กรอบซ่อมเสริมสำหรับตัวเลือกที่ 2 หากมีหลายตัวเลือกจะมีกรอบซ่อมเสริมหลายกรอบ เมื่อผู้เรียน เรียนกรอบซ่อมเสริมแล้วต้องกลับไปเรียน ในกรอบเนื้อหาใหม่ และทำกรอบทดสอบอีกครั้ง จนกว่าจะตอบถูก จึงจะไปสู่กรอบเนื้อหาต่อไป โครงสร้างลักษณะนี้เหมากับบทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด สถานการณ์จำลอง

.........2.8 แบบแตกกิ่งประกอบ (Compound branches) มีลักษณะที่เหมาะกับบทเรียนประเภทใช้วินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียน หรือสถานการณ์แก้ปัญหา คำถามจะอยู่ในลักษณะใช่ ไม่ใช่ จากคำตอบ ใช่ หรือไม่ใช่ที่ผู้เรียนเลือกตอบ จะพาผู้เรียนไปยังกรอบคำถาม หรือ เนื้อหากรอบต่อไปตามพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนแต่ละคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น